วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ขาย ต้นอินทผาลัม ที่ราคาถูก ปลูกจากสวนจำนวนมาก: วิธีการปลูกอินทผาลัม ปลูกอย่างไร?

วิธีการปลูกอินทผาลัม ปลูกอย่างไร?

การปลูก "อินทผาลัม

อินทผลัม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaenix sp.
ชื่อ วงศ์ : Palmae (Arecaceae)
ชื่อสามัญ : Date Palm

วิธีการปลูกอินทผาลัม ปลูกอย่างไร?

วิธีการปลูกอินทผลัม
1. ต้นที่ปลูกจะใช้วิธีการแยกหน่อจากต้นใหญ่ (ตัวเมีย) โดยเลือกต้นแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หน่อมีขนาดใหญ่ดีกว่าขนาดเล็ก เมื่อตัดจากต้นแม่แล้วจะมัดรวบใบไว้ก่อน (ควรใช้หน่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ขึ้นไป) ราคาต้นพันธุ์ประมาณ 15-20 RO ขึ้นอยู่กับพันธุ์ (ประมาณ 1,500-2,000 บาท ; 1 RO = 100 บาท)

2. เมื่อปลูกแล้วประมาณ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต 3. การปลูกจะขุดหลุม ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 เมตร ปลูกให้หน่ออยู่ลึกลงไปในหลุม และหน่อจะลึกลงไปในดินประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถเก็บน้ำไว้สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ได้ดี ระยะปลูกใหม่ยังไม่ให้ปุ๋ย ให้เหลือเพียงแต่น้ำทุก 5 วัน เมื่อตั้งตัวแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มให้ปุ๋ยคอก ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม ในการปลูกระยะแรกจะยังคงมัดรวบใบไว้จนกว่าต้นจะฟื้นและตั้งตัวได้ จึงจะตัดเชือกที่ผูกออก วิธีการนี้จะใช้กับการย้ายต้นใหญ่ๆ ไปปลูกที่อื่นด้วย จะช่วยให้ต้นรอดตายมาก

วิธีการดูแลรักษาอินทผลัม
1. การปรับพื้นดิน ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน) จะมีการใช้รถไถเดินตามไถพรวนพื้นที่ใต้ต้นซึ่งสภาพดินส่วนใหญ่จะเป็นทราย เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ขณะเดียวกันก็จะทำเป็นแนวร่องน้ำและคันกั้นน้ำแต่ละต้นไปด้วย เป็นตารางคล้ายคันนาขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 6 x 6 เมตร

2. การให้น้ำ น้ำที่ใช้จะถูกส่งมาตามรางคอนกรีต ซึ่งมาจากจุดให้น้ำของหมู่บ้าน มีเครื่องสูบน้ำมาเก็บไว้ มีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลการจ่ายน้ำ ซึ่งจะกำหนดจ่ายให้ทุกสวน ทุก 5 วัน และทุก 3 สัปดาห์ ในฤดูหนาว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายน้ำ เมื่อไหลเข้ามาตามรางในสวนจะถูกปล่อยไปตามต้นต่างๆ ตามร่องที่เตรียมไว้

3. การใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บผลแล้วจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม หว่านทั่วใต้ต้น และให้ปุ๋ยคอกต้นละประมาณ 30 กิโลกรัม (1 กระสอบ) 1 ครั้ง ต่อปี หลังจากให้ปุ๋ยยูเรียแล้วประมาณ 10 วัน

4. การตัดแต่งใบ จะมีการตัดแต่งทางใบ โดยใช้เลื่อยที่มีลักษณะคล้ายเคียว ผู้ตัดจะปีนขึ้นบนต้นไปตัดทางใบที่แก่แล้วทิ้งไป ต้นละประมาณ 2-3 ทางใบ ทางใบที่ตัดออกมาจะใช้ในการทำรั้วหรือทำฟืน ขณะเดียวกันจะตัดหน่อที่แตกออกมาที่กลางต้น หรือใกล้ๆ ยอดออกด้วย ทำให้ต้นสะอาดเป็นการป้องกันแมลงศัตรูที่อาจมารบกวนได้ และทำให้การป้องกันสัตว์ที่มากัดกินผลได้ง่ายด้วย

5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูอื่นๆ ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคแมลง เนื่องจากไม่มีการระบาดของศัตรูดังกล่าว แต่มีนกหรือหนู หรือกระรอกมารบกวนกัดกินผล โดยเฉพาะในช่วงที่ผลใกล้แก่ เกษตรกรจะใช้วิธีการยิงด้วยหนังสติ๊ก หรือปืนลม


วิธีการออกดอกติดผลอินทผลัม
1. การออกดอก เดือนมกราคมจะเริ่มออกดอก ต้นหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-11 ช่อ และจะบานประมาณปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยทยอยบานทุกๆ 5 วัน เกษตรกรจะนำเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกตัวผู้ที่มีอยู่ในสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์ Khori และ Bahani (สวนที่ดูงานจะมีต้นตัวผู้อยู่ 4 ต้น ก็เพียงพอสำหรับผสมกับต้นตัวเมีย ประมาณ 250 ต้น) ดอกตัวผู้สามารถเก็บไว้ใช้ได้โดยนำช่อดอกไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกใส่ถังปิดฝาไว้ เก็บไว้ได้นานหลายเดือน จะผสมเกสรเสร็จประมาณเดือนมีนาคม หลังจากติดผลแล้ว 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วย ผลจะเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บางพันธุ์อาจแก่ก่อนนี้เป็นพันธุ์เบาซึ่งขายได้ราคาดี (เช่น พันธุ์ Battas) ปกติจะเก็บเกี่ยวมากๆ ในเดือนสิงหาคม ระยะตั้งแต่ติดผลจนถึงผลแก่ประมาณ 180-200 วัน แต่ละทะลายจะมีผลติดดกประมาณ 6-8 กิโลกรัม

2. การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแก่จะมีสีแดง หรือเหลือง แล้วแต่พันธุ์ มีรสชาติมันและหวาน เกษตรกรจะปีนขึ้นไปโดยใช้เชือกที่ถักแบนๆ โอบรัดไปด้านหลังของเกษตรกรและพันรอบต้น แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปโดยใช้เท้าเหยียบไปบนต้นที่มีโคนทางใบ ที่หลงเหลืออยู่จากการตัด ทำให้ขึ้นได้ง่ายมาก เมื่อตัดแล้ววางลงบนตะกร้า หย่อนเชือกลงมาด้านล่าง ผู้ที่อยู่ใต้ต้นจะเป็นผู้เก็บรวบรวมเป็นกอง ปกติต้นหนึ่งๆ จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม (ถ้าดูแลดี แต่โดยทั่วไปจะได้น้อยกว่านี้)

3. ราคาจำหน่าย เกษตรจำหน่ายผลอินทผลัมสดในช่วงต้นฤดูกาลประมาณ กิโลกรัมละ 10-15 RO แต่ในช่วงที่ผลผลิตออกมากจะขายได้ประมาณ 0.25-0.35 RO ผลแห้งในท้องตลาดจะจำหน่ายปลีกประมาณ กิโลกรัมละ 0.35-1.0 RO ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า 4. การแปรรูป เกษตรกรจะนำผลไปผึ่งแดด ประมาณ 7-10 วัน จนผลแห้ง (เนื้อที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งผล) แล้วนำไปล้างน้ำตากแห้งอีกเพียง 1 วัน แล้วบรรจุภาชนะเพื่อจำหน่ายต่อไป การคัดคุณภาพของผลแห้งจะแยกเป็นชนิดที่แยกเป็นผลเดี่ยวๆ ได้จะมีราคาแพง ส่วนผลที่ค่อนข้างจะติดกันจะตักขายเป็นก้อน ราคาจะถูกลง ส่วนชนิดที่เละมากจะนำไปกวนเป็นน้ำหวานสำหรับปรุงอาหาร สำหรับผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรจะนำไปผึ่งแดดเก็บไว้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัว

ข้อคิดเห็นจากการ ศึกษาข้อมูลในการปลูกต้นอินทผลัมครั้งนี้ คือ
1. ต้นอินทผลัมเป็นไม้ผลเมืองร้อนแบบทะเลทราย ที่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องมีการดูแลรักษาสวนที่ดีด้วย เช่น การให้น้ำจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและพอเพียง

2. ผลอินทผลัมสด เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นผลอินทผลัมแห้งที่มีคุณภาพตาม ธรรมชาติ จะต้องอาศัยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง (ซึ่งเป็นสภาพของอากาศโดยทั่วไปของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง) หากเป็นประเทศที่มีความร้อนชื้นเหมือนบ้านเราจะทำให้การเปลี่ยนแปลง ไม่สมบูรณ์ จะเกิดเชื้อราขึ้นและเน่าในที่สุด

3. ต้นอินทผลัมเป็นต้นไม้ที่มีดอกตัวเมียและตัวผู้แยกอยู่คนละต้น ในการปลูกเพื่อมีการติดผลที่ดีจะต้องปลูกทั้งต้นตัวผู้ และต้นตัวเมียไว้ใน สวนเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร แต่บางพันธุ์อาจมีการติดผล และมีการพัฒนาของผลได้ดีโดยไม่ต้องมีการผสมเกสร เช่น Naghal แต่ผลที่ได้เนื้อจะบาง

4. เมล็ดของผลอินทผลัมที่ได้หลังจากบริโภคเนื้อแล้ว (โดยการซื้อผลอินทผลัมแห้งจากตลาดทั่วไป) สามารถนำไปเพาะเป็นต้นเพื่อปลูกได้ โอกาสที่จะได้เป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมียมีอย่างละ 50% แม้จะได้ต้นตัวเมียไปปลูกแต่คุณภาพก็จะไม่เหมือนกับต้นแม่ (คุณภาพของเนื้ออาจจะไม่ดีเท่ากับที่เราซื้อมา) เนื่องจากผลอินทผลัมแห้งที่มีจำหน่าย เป็นผลที่ได้จากการผสมเกสรข้ามต้น จึงถือว่าเมล็ดที่ได้เป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งไม่สามารถเรียกชื่อเดียวกับต้นแม่ได้

5. สำหรับประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่มีสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินที่สามารถปลูกต้น อินทผลัมได้ดี แต่ในช่วงที่ผลผลิตแก่ (ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) เป็นฤดูฝนจะทำให้เกิดปัญหาผลเน่า ดังนั้น แนวทางที่จะผลิตเป็นการค้าสำหรับบ้านเรา คือการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมจะจำหน่ายผลสด ลักษณะดังกล่าวควรจะมีผลขนาดโต เนื้อกรอบ รสชาติ มัน หวาน เช่น พันธุ์ Hilali พันธุ์ Khalas เมื่อผลแก่จัดสามารถตัดส่งไปจำหน่ายได้เลย ปัจจุบันมีผู้บริโภครู้จักการบริโภคผลอินทผลัมสด มากขึ้นทั้งในประเทศ และต่าง ประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย (ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มีความคุ้นเคยกับการบริโภคผลอินทผลัมสดอยู่แล้ว) นอกจากนั้น หากผู้ผลิตที่มีเครื่องอบผลไม้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอบพลังแสงอาทิตย์ หรือตู้ความร้อนจากไฟฟ้า หรือแก๊ส ก็สามารถใช้ผลิตผลอินทผลัมแห้งได้ดี ผลอินทผลัมแห้งที่ได้จะมีคุณภาพ เช่นเดียวกับที่มาจากประเทศกลุ่มอาหรับด้วย

6. ต้นพันธุ์อินทผลัมที่ดีควรเป็นต้นที่แยกหน่อ จากต้นแม่ที่รู้จักชื่อพันธุ์ และมีประวัติการให้ผลผลิตที่ดี แต่การจะสั่งต้นพันธุ์ดังกล่าวจากประเทศผู้ผลิต เข้ามาปลูกอาจจะยุ่งยาก ปัจจุบันมีต้นพันธุ์ที่ผลิตด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) เพื่อการจำหน่ายแล้วในหลายประเทศ เช่น อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สามารถสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตได้ การขนส่งทางไปรษณีย์ทำได้สะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรไทย ที่จะได้ทดลองผลิตพืชใหม่ที่อาจจะเป็นพืชที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ของไทยในอนาคตก็เป็นได้


ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณwoodmemory

ทิ้งท้ายด้วย "เทคนิคและวิการปลูกอินทผาลัม"

1. ต้นที่ปลูกจะใช้วิธีการแยกหน่อจากต้นใหญ่ (ตัวเมีย) โดยเลือกต้นแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หน่อมีขนาดใหญ่ดีกว่าขนาดเล็ก เมื่อตัดจากต้นแม่แล้วจะมัดรวบใบไว้ก่อน (ควรใช้หน่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว ขึ้นไป) ราคาต้นพันธุ์ประมาณ 15-20 RO ขึ้นอยู่กับพันธุ์ (ประมาณ 1,500-2,000 บาท ; 1 RO = 100 บาท)

2. เมื่อปลูกแล้วประมาณ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต 3. การปลูกจะขุดหลุม ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 เมตร ปลูกให้หน่ออยู่ลึกลงไปในหลุม และหน่อจะลึกลงไปในดินประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถเก็บน้ำไว้สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ได้ดี ระยะปลูกใหม่ยังไม่ให้ปุ๋ย ให้เหลือเพียงแต่น้ำทุก 5 วัน เมื่อตั้งตัวแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะเริ่มให้ปุ๋ยคอก ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม ในการปลูกระยะแรกจะยังคงมัดรวบใบไว้จนกว่าต้นจะฟื้นและตั้งตัวได้ จึงจะตัดเชือกที่ผูกออก วิธีการนี้จะใช้กับการย้ายต้นใหญ่ๆ ไปปลูกที่อื่นด้วย จะช่วยให้ต้นรอดตายมาก

การดูแลรักษาอินทผาลัม
1. การปรับพื้นดิน ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน) จะมีการใช้รถไถเดินตามไถพรวนพื้นที่ใต้ต้นซึ่งสภาพดินส่วนใหญ่จะเป็นทราย เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ขณะเดียวกันก็จะทำเป็นแนวร่องน้ำและคันกั้นน้ำแต่ละต้นไปด้วย เป็นตารางคล้ายคันนาขนาด กว้าง x ยาว ประมาณ 6 x 6 เมตร

2. การให้น้ำ น้ำที่ใช้จะถูกส่งมาตามรางคอนกรีต ซึ่งมาจากจุดให้น้ำของหมู่บ้าน มีเครื่องสูบน้ำมาเก็บไว้ มีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลการจ่ายน้ำ ซึ่งจะกำหนดจ่ายให้ทุกสวน ทุก 5 วัน และทุก 3 สัปดาห์ ในฤดูหนาว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายน้ำ เมื่อไหลเข้ามาตามรางในสวนจะถูกปล่อยไปตามต้นต่างๆ ตามร่องที่เตรียมไว้

3. การใส่ปุ๋ย หลังจากเก็บผลแล้วจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม หว่านทั่วใต้ต้น และให้ปุ๋ยคอกต้นละประมาณ 30 กิโลกรัม (1 กระสอบ) 1 ครั้ง ต่อปี หลังจากให้ปุ๋ยยูเรียแล้วประมาณ 10 วัน

4. การตัดแต่งใบ จะมีการตัดแต่งทางใบ โดยใช้เลื่อยที่มีลักษณะคล้ายเคียว ผู้ตัดจะปีนขึ้นบนต้นไปตัดทางใบที่แก่แล้วทิ้งไป ต้นละประมาณ 2-3 ทางใบ ทางใบที่ตัดออกมาจะใช้ในการทำรั้วหรือทำฟืน ขณะเดียวกันจะตัดหน่อที่แตกออกมาที่กลางต้น หรือใกล้ๆ ยอดออกด้วย ทำให้ต้นสะอาดเป็นการป้องกันแมลงศัตรูที่อาจมารบกวนได้ และทำให้การป้องกันสัตว์ที่มากัดกินผลได้ง่ายด้วย

5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูอื่นๆ ไม่มีการป้องกันกำจัดโรคแมลง เนื่องจากไม่มีการระบาดของศัตรูดังกล่าว แต่มีนกหรือหนู หรือกระรอกมารบกวนกัดกินผล โดยเฉพาะในช่วงที่ผลใกล้แก่ เกษตรกรจะใช้วิธีการยิงด้วยหนังสติ๊ก หรือปืนลม

การออกดอกติดผลอินทผาลัม
1. การออกดอก เดือนมกราคมจะเริ่มออกดอก ต้นหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-11 ช่อ และจะบานประมาณปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยทยอยบานทุกๆ 5 วัน เกษตรกรจะนำเกสรตัวผู้โดยตัดจากช่อดอกตัวผู้ที่มีอยู่ในสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์ Khori และ Bahani (สวนที่ดูงานจะมีต้นตัวผู้อยู่ 4 ต้น ก็เพียงพอสำหรับผสมกับต้นตัวเมีย ประมาณ 250 ต้น) ดอกตัวผู้สามารถเก็บไว้ใช้ได้โดยนำช่อดอกไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกใส่ถังปิดฝาไว้ เก็บไว้ได้นานหลายเดือน จะผสมเกสรเสร็จประมาณเดือนมีนาคม หลังจากติดผลแล้ว 3 สัปดาห์ ทะลายที่ติดผลจะค่อยๆ โน้มห้อยลงมาใต้ทางใบทำให้ผลไม่เสียดสีกับหนามเมื่อลมพัด และสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วย ผลจะเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บางพันธุ์อาจแก่ก่อนนี้เป็นพันธุ์เบาซึ่งขายได้ราคาดี (เช่น พันธุ์ Battas) ปกติจะเก็บเกี่ยวมากๆ ในเดือนสิงหาคม ระยะตั้งแต่ติดผลจนถึงผลแก่ประมาณ 180-200 วัน แต่ละทะลายจะมีผลติดดกประมาณ 6-8 กิโลกรัม

2. การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแก่จะมีสีแดง หรือเหลือง แล้วแต่พันธุ์ มีรสชาติมันและหวาน เกษตรกรจะปีนขึ้นไปโดยใช้เชือกที่ถักแบนๆ โอบรัดไปด้านหลังของเกษตรกรและพันรอบต้น แล้วค่อยๆ ขยับขึ้นไปโดยใช้เท้าเหยียบไปบนต้นที่มีโคนทางใบที่หลงเหลืออยู่จากการตัด ทำให้ขึ้นได้ง่ายมาก เมื่อตัดแล้ววางลงบนตะกร้า หย่อนเชือกลงมาด้านล่าง ผู้ที่อยู่ใต้ต้นจะเป็นผู้เก็บรวบรวมเป็นกอง ปกติต้นหนึ่งๆ จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กิโลกรัม (ถ้าดูแลดี แต่โดยทั่วไปจะได้น้อยกว่านี้)

3. ราคาจำหน่าย เกษตรจำหน่ายผลอินทผลัมสดในช่วงต้นฤดูกาลประมาณ กิโลกรัมละ 10-15 RO แต่ในช่วงที่ผลผลิตออกมากจะขายได้ประมาณ 0.25-0.35 RO ผลแห้งในท้องตลาดจะจำหน่ายปลีกประมาณ กิโลกรัมละ 0.35-1.0 RO ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้า

4. การแปรรูป เกษตรกรจะนำผลไปผึ่งแดด ประมาณ 7-10 วัน จนผลแห้ง (เนื้อที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั้งผล) แล้วนำไปล้างน้ำตากแห้งอีกเพียง 1 วัน แล้วบรรจุภาชนะเพื่อจำหน่ายต่อไป การคัดคุณภาพของผลแห้งจะแยกเป็นชนิดที่แยกเป็นผลเดี่ยวๆ ได้จะมีราคาแพง ส่วนผลที่ค่อนข้างจะติดกันจะตักขายเป็นก้อน ราคาจะถูกลง ส่วนชนิดที่เละมากจะนำไปกวนเป็นน้ำหวานสำหรับปรุงอาหาร สำหรับผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรจะนำไปผึ่งแดดเก็บไว้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัว

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

เกษตรอินทรีย์ ปลูกอย่างฉลาด และสร้างความยั่งยืน ไปพร้อมๆกัน

หมอนิวธีรชัย ปิ่นทอง 0861920699
นำเสนอ Business model
การจัดทำ Smart Big Database Digital Flatform ดูแลผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรพืชผัก ผลไม้และสมุนไพรต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตลอดระบบ  Supply chain ผ่านระบบออนไลน์ ครบวงจร เข้าถึงง่าย สะดวก ครบถ้วน ทันเหตุการณ์ ฟันธง 
จ.เชียงใหม่ครับ


9 พืชผสมสานเพื่อความพอเพียง
*********************************
การปลูกพืชเพื่อมุ่งหารายได้จากการค้า มักจะพบกับประเด็นปัญหาและคำถามว่า มุ่งทำเงินอย่างเดียวแต่ไม่ดูแลเรื่องอื่นๆ สวพ.8 กรมวิชาการเกษตร จึงขอนำเสนอ model 9 พืชผสมสานพอเพียง เป็นการปลูกพืชในครัวเรือน ชุมชน ที่ตอบโจทย์ เพื่อเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ เพื่อสังคม และเพื่อสิ่งแวดล้อม ดังน้ี

1 กลุ่มพืชอาหาร : 
เป็นการปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ปลูกเองกินเอง ปลอดภัยและลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณการปลูกพืชอาหารที่ใช้เป็นเครื่องแกง พืชผัก และไม้ผล เพื่อบริโภคในครัวเรือน
วิธีการพัฒนา สำรวจ ทำบัญชี พืชที่ต้องใช้เป็นอาหารประจำวัน แล้วปลูกเพิ่มชนิดที่ยังไม่พอ ทำแบบง่ายๆ เช่น การปลูกในภาชนะต่างๆ ปลูกทุกอย่างที่จะกิน 
2 กลุ่มพืชรายได้ 
เป็นพืชที่เป็นรายได้หลักครอบครัว วิธีการพัฒนา วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต หาเทคโนโลยีในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ แปรรูป และสร้างมูลค่าจากจุดเด่นต่างๆ 
3 กลุ่มพืชสมุนไพรสุขภาพ 
เป็นการเพิ่มปริมาณพืชและการใช้ประโยชน์พืชที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นโดยไม่ต้องใช้ยาเคมีซึ่งหลายชนิดให้ผลข้างเคียงที่ทำลายสุขภาพ ตลอดจนสมุนไพรที่เป็นยาตำรับไทยใช้รักษาโรค 
4 กลุ่มพืชสมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช 
เป็นการเพิ่มปริมาณพืชและการใช้ประโยชน์สารสกัดจากพืชเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ทดแทนสารเคมี ปลูกพืชที่นำมาใช้ผลิตสารสกัดเช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เป็นต้น รวมทั้งมีการผลิตน้ำส้มควันไม้ 
5 กลุ่มพืชอนุรักษ์ดินและน้ำ 
เป็นพืชที่ปลูกเพื่อบำรุงดิน ป้องกันการชะล้างดิน ช่วยรักษาความชื้นในดิน เช่น ปอเทือง แฝก พืชตระกูลถั่วต่างๆ 
6 กลุ่มพืชอาหารสัตว์ 
เป็นการเพิ่มปริมาณพืชอาหารสัตว์ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนอกจากลดต้นทุนและยังทำให้สัตว์โตเร็ว เช่น อ้อยอาหารวัตว์ หญ้าหวายข้อ หญ้ามัน หญ้าแพงโกล่า หญ้าก้านแดง หญ้าขน เนเปียร์ปากช่อง และอื่นๆ
7 กลุ่มพืชใช้สอย 
เป็นการปลูกพืชเพื่อใช้เนื้อไม้ หรือทำค้าง ซึ่งสามารถปลูกเป็นแปลงและบนคันนา เช่น ตะเคียนทอง มะฮอกกานี กระถินเทพา ยางนา เป็นต้น
8 กลุ่มพืชอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น 
เป็นการปลูกพืชประจำถิ่น เพื่ออนุรักษ์ ขยายพันธุ์พืชที่กำลังสูญหาย และจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญ เป็นพืชที่ให้คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม
9 กลุ่มพืชพลังงานหรือเชื้อเพลิง 
เป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ใกล้ตัวคือเป็นเชื้อเพลิง เช่น แคนา มะฮอกกานี สน หรือพืชทดแทนพลังงานอย่างปาล์มน้ำมัน รูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปลูกแบบผสมสานทั้งเป็นแปลงปลูกพืชและบนคันนา

ที่มา:สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อินทผลัม การดูแล การให้ปุ๋ย ศึกษาการปลูกอินทผลัม

การปลูกและการดูแลรักษาอินทผลัม :
1. การปลูก : ขุดหลุมขนาด 50×50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก เวลาปลูกให้โคนต้นสูงพ้นพื้นดินประมาณ ฝ่ามือ จะทำให้ต้นโตเร็ว ระยะการปลูก 7×7 เมตร จะได้ 32 ต้นต่อไร่ อินทผลัมชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำขังน้ำแฉะ

2. การดูแลรักษา ในระยะปีที่ 1- 2
2.1 เมื่อปลูกแล้ว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการแตกยอด เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือสูตร15-15-15 สองเดือน/ครั้ง เพื่อให้ต้นอินทผลัมโตเร็ว หรือใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปีละ 2 ครั้ง ต้นฤดูฝน – ปลายฤดูฝน โดยใส่ห่างจากลำต้น 1 ศอก

2.2 ฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ฤดูแล้งควรให้น้ำทุก 7-10 วัน
2.3 ถ้าดูแลรักษาดี จะออกดอกออกผลตั้งแต่ปีที่ 3 ต้น ตัวผู้จะออกดอกก่อนต้นตัวเมีย สามารถปล่อยให้ออกดอกติดผลได้เลย ไม่ต้องกลัวต้นโทรม เพราะระบบรากของอินทผลัมจะหาอาหารเก่งมาก

3. การดูแลรักษาในระยะปีที่ 3 :
3.1 เป็นปีที่จะเริ่มออกดอกติดผล ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลค้างคาว มูลไก่ มูลวัว ให้ใส่ต้นฤดูฝน พอถึงเดือนตุลาคม ควรใส่ปุ๋ยสะสมอาหาร เช่น ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ถ้าพื้นที่ฝนชุก ควรใส่ปุ๋ย 0-46-60 เพื่อให้ออกดอกมาก ถ้าปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งแล้วหยุดให้น้ำ อินทผลัมจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน ของทุกปี

3.2 อินทผลัมจะมีหน่อบ้าง เมื่อบำรุงรักษาดี ในระยะ 3 ปีแรกควรตัดหนามและหน่อทิ้งเพื่อให้ต้นแม่ได้สะสมอาหาร ทำให้ติดดอกออกผลง่ายและดก แต่ถ้าต้นแม่อายุ 5 ปีขึ้นไปแล้ว สามารถปล่อยให้มีหน่อและสามารถแยกหน่อไปปลูกได้

3.3 เมื่ออินทผลัมติดดอก ควรช่วยผสมเกสร เพื่อให้ติดลูกดกกว่าการปล่อยให้ผสมเกสรตามธรรมชาติ
3.4 ควรให้น้ำบ้างเมื่อติดผล และใช้ไม้ช่วยค้ำยันทะลายอินทผลัม เพื่อไม่ให้ก้านทะลายหัก หรือย้อยลงดิน

4. การตัดแต่งใบ :
ใบอินทผลัมที่แก่และแห้งควรตัดทิ้ง เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน การดูแลรักษา และทำให้ทรงต้นสะอาด รวมทั้งป้องกันแมลงรบกวน ปัญหา โรคและแมลงยังมีน้อยมาก

5. การเก็บเกี่ยว :
จะดูที่สีของผลอินทผลัม ถ้าผลมีสีเหลืองเข้มมาก หรือ มีผลเริ่มสุกสีน้ำตาล 5-10% ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลจะมีลักษณะกลมรี ออกเป็นพวงหรือทะลาย การพัฒนาของผลจะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ , ระยะผลสมบูรณ์เต็มที , ระยะผลสุกแก่ และ ระยะผลแห้ง รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-8 เดือน

6. การเก็บรักษา :
หากเก็บอินทผลัมผลที่สุกแก่ไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี

7. การผสมเกสร :
ถ้าต้นชิดกัน เรื่องการผสมเกสรจะมีแมลงและลมช่วยผสมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าอยากให้ลูกติดดกทุกเมล็ด ทุกทะลายควรช่วยผสมเกสรจะดีที่สุด

8. เทคนิคการผสมเกสรให้ติดลูกดก :
การเก็บเกสรตัวผู้ : เก็บสำรองเพื่อเอาไว้ช่วยผสมเกสร ให้ตัวเมีย ให้สังเกตเวลาที่จั่นตัวผู้ออกและแตกจะเห็นดอกข้างในเป็นดอกที่มีกลีบเป็นแฉก ๆ สีขาวให้นำถุงพลาสติกคลุมแล้วเขย่าให้ได้ละอองเกสรที่มีลักษณะเป็นฝุ่นแป้งสีขาว แล้วเก็บปิดถุงให้มิดชิดนำใส่ตู้เย็นช่องธรรมดาไว้

สำหรับเกสรตัวเมีย : ต้นตัวเมียจะออกจั่นเหมือนต้นตัวผู้ แต่เกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ เป็นช่อ พอจั่นแตกออกก็ให้นำเกสรตัวผู้ที่เก็บไว้มาผสม โดยใช้เกสรประมาณ 1/3 ช้อนชาต่อ 1 ช่อดอก นำเกสรตัวผู้ใส่ถุงพลาสติกเขย่าให้ฟุ้งแล้วนำไปครอบช่อจั่นตัวเมีย จากนั้นให้เขย่าเพื่อให้ละอองเกสรผสมกัน ควรผสมซ้ำอีก ประมาณ 1-2 วัน สำหรับการผสมซ้ำไม่ต้องใช้เกสรมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมเกสรคือ ช่วงเช้า เนื่องจากอากาศจะไม่ชื้นและร้อนจน เกินไป

http://www.buachat.com/web/?page_id=326

- “แหล่งซื้อต้นพันธุ์” ..... เพาะเมล็ดเอง ใช้เมล็ดในผลอินทผลัมตากแห้งที่กินเนื้อแล้ว จำนวนเมล็ดงอก 50:50 ประหยัดต้นทุน หรือซื้อต้นพันธุ์ที่เพาะจากเมล็ดแล้ว ต้นสูง 1-2 คืบมือ สนนราคาต้นละ 200-300 บาท ต้องยอมรับว่าต้นจากเพาะเมล็ดกลายพันธุ์ โอกาสเป็นต้นตัวเมียต่ำ โอกาสเป็นต้นตัวผู้สูง .... ซื้อต้นพันธุ์เพาะเนื้อเยื่อ (จากต่างประเทศ ประเทศไทยยังเพาะไม่ ได้) สนนราคาต้นละ 1,200-1,500 กล้าสูง 50-80 ซม. ไม่กลายพันธุ์ เป็นต้นตัวเมียแน่นอน

- “ทำให้อินทผลัมออกนอกฤดู” .... เท่าที่ คิด/วิเคราะห์ เกี่ยวกับอินทผลัมเท่าที่ข้อมูลจะพึงมี กอร์ปกับตัวเองไม่มีประสบการณ์ตรง เพราะเพิ่งเริ่มปลูก (อายุต้นได้ 2 เดือน) พอจะเดาๆได้ว่า อินทผลัมออกดอกติดผลได้ตอดปี แบบไม่มีรุ่น ตามประสาไม้ตระกูลปาล์ม (ปาล์ม จาก ตาล หมาก สละ ระกำ มะพร้าว) นั่นคือ บำรุงด้วยสูตรเดียวกัน .....

– ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ ไบโออิ (Mg Zn TE) + ไทเป (13-0-46, 0-52-34) + ยูเรก้า (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน ) 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 +8-24-24, .... ใช้เศษซากทะลายปาล์มจากโรงงานน้ำมันปาล์มคลุมโคนต้นหนาๆ ปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี ให้น้ำสม่ำเสมอหน้าดินชุ่ม (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่)




วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

สวนอินทผลัมที่ดี สวนขุมทรัพย์แทนคุณ ปลูกจากเพาะเมล็ด

สวัสดีครับ
เรื่อง การปลูกอินทผลัม นะครับ
ปัจจุบัน มีอินทผลัม ที่สามารถทานสด รสชาติกรอบหวานติดฝาดเล็กน้อย
ที่นิยมมากคิอ สายพันธุ์บาฮี
ส่วนสายพันธุ์ทานผลแห้งที่ มีปลูกในประเทศ มักเป็นพันธุ์ เดทเลทนัว ซึ่งพันธุ์ทานผลแห้งมักปลูกแล้ว ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะ ผลอินทผลัมจะไปสุกช่วยฝนตกชุก ทำให้เป็นเชื้อราและลูกร่วง
ในประเทศไทย ก็มีหลายสวนที่ปลูก ทั้งสองชนิดนี้สำเร็จและได้ทานผลแล้วครับ
อินทผลัม สามารถปลูกได้ทุกภาคครับ ขอแค่อย่าให้ดินชื้นเกินไป(ดินเหนียวมาก) โดยเฉพาะที่ดินนา
ถ้าต้องการปลูกต้องปรุงดินใหม่ครับ ยกร่องแล้วมูลดินขึ้นสูงกว่าระดับน้ำท่วมถึง อย่างน้อย 1 เมตร
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ชอบน้ำนะครับ
เพียงแต่ไม่ชอบให้โคนและรากหาอาหารแช่น้ำนานๆหลายวันครับ
อินทผลัม ที่ผมปลูก ผมปลูกทั้งสองชนิดครับ
กล้าพันธุ์หาซื้อมาจากเพื่อน(ราคาค่อนข้างแพง)
มีต้น อายุ 1 ปีและ 2 ปี ต้นแกรนๆเพราะอยู่ในถุงมานานครับ
ปรุงดินปลูกใหม่ เพราะเป็นที่นาน้ำท่วม ลงดินครั้งแรก 19 ตุลาคม 2559
พอน้ำท่วมก็ ต้องมูลดินขึ้นสูงอีก ต้นกล้าชะงัก มีต้นหนึ่งติดดอกตั้งแต่ลงดินไม่ถึง 4 เดือน ครับ
ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นขี้วัวหมักครับ
ขุดหลุมกว้างยาว 1 เมตรคูณลึก 1 เมตร
รดน้ำอย่างน้อย สัปดาห์ละครั้งพอชุ่ม ใส่ปุ๋ยขี้วัวหมักปีละ 3-4 ครั้ง รอบวงโคนต้น ฉีดจุลินทรีย์เร่งใบ เร่งราก และผล ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เมื่อเดือนตุลาคม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 7×7 และ 8×8 เมตร (1 ไร่จะปลูกได้ 32 ต้น ถึง 40 ต้น ครับ)
สำคัญที่สุดคือการปรุงดินและการเลือกกล้าพันธุ์ มีความเสี่ยง คือ ถ้าปลูกจากกล้าเพาะเมล็ด อาจเป็นเพศเมียน้อยกว่า เพศผู้ เราต้องผสมให้ เกษรตัวผู้มักออกก่อนตัวเมีย 1 เดือน ต้องเก็บเป็นผงไว้ มักออกดอกช่วง ปลายเดือน มกราคมถึงเดือนมีนาคม เก็บเกี่ยวผลปีละครั้ง ช่วง กรกฎาคมถึงต้นกันยายน ครับ
ปัจจุบัน ผมมีสายพันธุ์ KL1 11 ต้น บาฮี อีก 2 ต้น ปลูกที่ดอยสะเก็ด
ส่วนที่เชียงรายปลูก KL1 25 ต้น และเดทเลทนัว  200 ต้น
ตอนนี้มีกล้าพันธุ์ และหัวเชื้อปุ๋ยอินทรีย์จำหน่ายด้วยครับ สอบถามเพิ่มเติม 0861920699
ต้นกล้าต้นละ 600 บาท ปลูก 1 ไร่ ประมาณ 32 ต้น ซื้อที่ผม ไปปลูกให้ฟรีครับ(32 ต้น) รวมปุ๋ย ค่าแรงขุด และค่าขนส่งแล้ว ปลูกประมาณ 2 ปีทราบผลเรื่องเพศครับ ปีถัดไปก็รอทานผลได้เลยครับ
ผลไม้มหัศจรรย์ อินทผลัม ครับ

อินทผลัม ชื่อสามัญ Date Palm, Dates

อินทผลัม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix dactylifera L. จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า PALMAE หรือ PALMACEAE

หมายเหตุ : ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จะสะกดคำนี้ว่า อินทผลัม (อิน-ทะ-ผะ-ลำ) ซึ่งเป็นคำที่ถูกต้อง แต่ให้ความหมายในภาษาปากว่า อินทผาลัม

อินทผลัม จัดเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง มีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างทะเลทราย โดยอินทผาลัมมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง ประเทศที่ผลิตอินทผาลัมรายใหญ่ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อาหรับ แอลจีเรีย เรียงตามลำดับ

ลักษณะของอินทผาลัม
ต้นอินทผลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย (เลือกต้นที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป) (รูปอินทผาลัม ด้านล่าง)
ต้นอินทผาลัม

ลูกอินทผลัม มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผาลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) และพัฒนาการของผลอินทผาลัมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ > ระยะสมบูรณ์ > ระยะสุกแก่ > ระยะผลแห้ง โดยผลอินทผลัมสุกเราสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้รับประทานได้หลายปี และจะมีรสชาติหวานจัด เหมือนกับการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
ผลอินทผลัม

สายพันธุ์อินทผลัม
Aabel – พบได้ทั่วไปในประเทศลิเบีย
Ajwah – สายพันธุ์จากเมืองเมดินา ประเทศซาอุดิอาระเบีย
Al-Barakah – สายพันธุ์จากประเทศซาอุดิอาระเบีย
Amir Hajj หรือ Amer Hajj – สายพันธุ์จากประเทศอิรัก ผลมีผิวบาง เนื้อบาง
Abid Rahim – สายพันธุ์จากประเทศซูดาน แต่ไนจีเรียจะเรียกว่า Dabino
Barhee หรือ Barhi – สายพันธุ์จากอาหรับ ลักษณะของผลเกือบกลม ผลสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีน้ำตาลเข้ม
Bireir – สายพันธุ์จากประเทศซูดาน
Datca Date – สายพันธุ์จากประเทศตุรกี
Deglet Noor – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในประเทศแอลจีเรียและประเทศตูนิเซีย
Derrie หรือ Dayri – เป็นสายพันธุ์จากทางตอนใต้ของอิรัก ลักษณะของผลยาวเรียว ผลสีเกือบดำ
Empress – สายพันธุ์ที่พัฒนาโดยครอบครัว DaVall ในอินดิโอ แคลิเฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยเป็นพันธุ์ที่พัฒนามาจากสายพันธุ์ Thoory แต่จะมีขนาดผลที่ใหญ่กว่า มีความหวานกว่า สีของผลครึ่งบนเป็นสีแทนออกน้ำตาล ๆ สว่าง ๆ ส่วนครึ่งล่างเป็นสีน้ำตาล
Fardh หรือ Fard – สายพันธุ์นี้พบได้ทั่วไปที่ประเทศโอมาน ผลมีสีน้ำตาลดำ รสชาติหวาน เมล็ดมีขนาดเล็ก
Ftimi หรือ Alligue – เป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตในประเทศตูนิเซีย
Holwah หรือ Halawi – สายพันธุ์อาหรับ มีขนาดผลเล็กถึงปานกลาง รสหวานมาก
Haleema – สายพันธุ์จากเมือง Hoon ในประเทศลิเบีย
Hayany – สายพันธุ์จากอียิปต์ ลักษณะของผลมีสีแดงเข้มเกือบดำ
Honey – ยังไม่พบข้อมูลของสายพันธุ์นี้
Iteema – สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศแอลจีเรีย
Kenta – สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศตูนิเซีย
Khadrawi หรือ Khadrawy – สายพันธุ์อาหรับ เป็นที่นิยมของชาวอาหรับอย่างมาก ลักษณะของผลเป็นสีดำ
Khalasah – เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากในซาอุดิอาระเบีย เพราะมีความหวานที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป
Khastawi หรือ Khusatawi หรือ Kustawy – สายพันธุ์จากอิรัก มีขนาดเล็ก ใช้ทำเป็นน้ำเชื่อม มีราคาแพง
Maktoom – สายพันธุ์จากอาหรับ ผลมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง เปลือกหนา รสหวานปานกลาง
Manakbir – ลักษณะของผลมีขนาดใหญ่
Medjool หรือ Mejhool – สายพันธุ์จากโมร็อกโก เนื้อหวานฉ่ำ
Migraf หรือ Mejraf – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในภาคใต้ของเยเมน ผลมีขนาดใหญ่ สีเหลืองทอง
Mgmaget Ayuob – สายพันธุ์จากเมือง Hoon ในประเทศลิเบีย
Mishriq – สายพันธุ์จากประเทศซูดานและซาอุดิอาระเบีย
Mozafati – สายพันธุ์จากอิหร่าน ผลมีขนาดกลาง รสหวาน
Nabtat-seyf – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
Rotab – สายพันธุ์จากอิหร่าน ผลมีสีเข้ม
Sag‘ai – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
Saidy หรือ Saidi – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมในประเทศลิเบียเพราะรสหวานจัด
Sayer หรือ Sayir – จากอาหรับ ผลมีขนาดปานกลาง สีส้มถึงน้ำตาลเข้ม
Sukkary – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม รสหวาน และมีราคาแพงที่สุด
Sellaj – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
Tagyat – เป็นสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศลิเบีย
Tamej – สายพันธุ์จากลิเบีย
Thoory หรือ Thuri – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในแอลจีเรีย ผลสีน้ำตาลถึงแดง เปลือกเหี่ยวย่น มีรสหวาน
Umeljwary – สายพันธุ์จากลิเบีย
Umelkhashab – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย เปลือกสีแดงสดใส
Zahidi – ผลมีขนาดกลาง เปลือกสีทองถึงน้ำตาลสว่าง
Zaghloul – เปลือกสีแดงเข้ม ผลยาว กรอบ
อินทผลัม

ประโยชน์ของอินทผาลัม
การรับประทานอินทผาลัมเป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
ประโยชน์อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความเมื่อยล้า ช่วยดับความหนาวเย็น
เมื่อร่างกายมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง หากรับประทานอินทผาลัมภายในครึ่งชั่วโมงก็จะทำให้ร่างกายกลับมามีกำลังเหมือนเดิม
ช่วยรักษาโรคผอมผิดปกติ ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว
ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันโรคตาบอดแสงหรือภาวะมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน
ช่วยบำรุงตับอ่อน รักษาโรคเบาหวาน (อ.สุทธิวัสส์)
ช่วยดูแลและควบคุมระบบประสาท
อินทผลัมมีโพแทสเซียมสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้มากถึง 40%
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง


อินทผาลัมช่วยป้องกันมะเร็งช่องท้อง เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้องได้
ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี
อินทผาลัมมีประโยชน์ช่วยแก้กระหาย แก้อาการเจ็บคอ
ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (สาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและความดันโลหิตต่ำ)
อินทผาลัมมีสรรพคุณช่วยลดเสมหะในลำคอ
ช่วยลดความหิวได้เป็นอย่างดี
อินทผาลัมอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
อินทผลัมช่วยในการย่อยอาหาร เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอ และมีปัจจัยในการกระตุ้นการย่อยและดูดซึมสารอาหาร จึงช่วยในย่อยได้เป็นอย่างดี
จากรายงานการวิจัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย พบว่าอินทผลัมสามารถช่วยทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ช่วยป้องกันเยื่อบุในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยหลั่งฮิสตามีน (Histamine) และฮอร์โมนแกสตริน (Gastrin) จากการเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล และยังช่วยลดระดับมิวซิน (Mucin) ในกระเพาะอาหารอีกด้วย
ช่วยรักษาและบำบัดพิษต่าง ๆ ด้วยการรับประทานวันละ 7 เม็ด (คัมภีร์อัลกุรอาน)
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน จึงช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้
การรับประทานอินทผาลัมในขณะท้องว่างยามเช้า จะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ พยาธิและสารพิษที่ตกค้างอยู่ในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารได้
อินทผลัม ประโยชน์สำหรับเด็กที่มีอาการทรมานทางประสาทโดยธรรมชาติ (อาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย มีความเครียด กลัว และกังวล) หรือมีอาการไฮเปอร์ไม่อยู่นิ่ง ให้รับประทานอินทผลัมจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
การใส่อินผลัมลงไปในนมจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานอินทผลัมในช่วงเดือนท้าย ๆ ก่อนคลอดบุตร จะช่วยขยายมดลูกในช่วงการคลอด และยังช่วยลดอาการตกเลือดหลังจากการคลอดได้อีกด้วย
สำหรับหญิงให้นมบุตร การรับประทานอินทผลัมจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า และยังช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญในน้ำนม ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อีกด้วย
สำหรับชาวมุสลิม อินทผลัมสด ๆ เป็นผลไม้ที่ชาวมุสลิมจะเก็บไว้รับประทานในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนถือศีลอด)
ชาวมุสลิมเชื่อว่าการรับประทานอินทผลัมจะช่วยป้องกันไสยศาสตร์ได้
คุณค่าทางโภชนาการของผลอินทผลัม (สายพันธุ์ Deglet Noor) ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 282 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 75.03 กรัม
น้ำตาล 63.35 กรัมต้นอินทผลัม
เส้นใย 8 กรัม
ไขมัน 0.39 กรัม
โปรตีน 2.45 กรัม
น้ำ 20.53 กรัม
วิตามินเอ 10 ไมโครกรัม
เบตาแคโรทีน 6 ไมโครกรัม 0%
ลูทีนและซีแซนทีน 75 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.052 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 2 0.066 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 3 1.274 มิลลิกรัม 8%
วิตามินบี 5 0.589 มิลลิกรัม 12%
วิตามินบี 6 0.165 มิลลิกรัม 13%
วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม 5%
วิตามินซี 0.4 มิลลิกรัม 0%
วิตามินอี 0.05 มิลลิกรัม 0%
วิตามินเค 2.7 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม 4%
ธาตุเหล็ก 1.02 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมกนีเซียม 43 มิลลิกรัม 12%
ธาตุแมงกานีส 0.262 มิลลิกรัม 12%
ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม 9%
ธาตุโพแทสเซียม 656 มิลลิกรัม 14%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.29 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)


แหล่งอ้างอิง : www.1000gooddeeds.com, หนังสืออิสลามกับการแพทย์ที่ไม่ต้องพึ่งยา (อะฮ์มัด อามีน ชีราซี), คัมภีร์อัลกุรอาน, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ

เมดไทย (MedThai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราได้ร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในเว็บไซต์แห่งนี้ก็มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หรือใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด ทางเว็บไซต์ไม่มีคำตอบสำหรับปัญหาทั้งหมด คำตอบสำหรับปัญหาที่เฉพาะเจาะจงอาจไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Thailand Web Stat © 2014-2017 MedThai. All rights reserved